วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ


บทที่ 5 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

สิทธิ์ความเป็นเจ้าของซอร์ฟแวร์
สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของซอร์ฟแวร์ จะระบุถึงการอนุญาตให้ใช้งานโปรแกรมภายหลังจากโปรแกรมซอร์ฟแวร์นั้นถูกพัฒนาขึ้น โดยผู้พัฒนา(อาจเป็นบุคคลหรือระดับองค์กร)จะถือสิทธื์ความเป็นเจ้าของโปรแกรมดังกล่าว ว่าจะอนุญาตให้นำไปจำหน่าย แบ่งปัน หรือแจกจ่ายหรือไม่ รวมถึงขอบเขตการใช้งานโปรแกรมในรูปแบบต่างๆ  ซึ้งผู้ใช้ควรอ่านและศึกษาให้ดีเพราะมีผลต่อกฏหมายลิทสิทธิ์ ดีงนั้น  ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้งานในทุกวันนี้ จะมีหลายรูปแบบด้วยกัน โดยหากพิจารณาการจัดแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ในมุมมองทางการตลาดแล้ว จะแบ่งออกได้เป้น 4 ประเภทด้วยกัน อันได้แก่

1.ซอฟต์แวร์เพื่อการพาณิชย์
คือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายและหวังกำไร ตัวอย่างเช่น เมื่อซอฟต์แวร์ชนิดนี้มาใช้งาน มักเป็นลิขสิทธ์แบบใช้งานคนเดียว(Single-User License) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหมายถึง ขอบเขตการติดตั้งใช้งานจะทำลงในเครื่องของเราเพียงเครื่องเดียวเท่านั้น หากมีการติดตั้งลงในเครื่องอื่นๆ หรือมีการคัดลอกลงในแผ่นซีดี/ดีวีดี แล้วนำไปแจกจ่าย จะถือว่า คุณได้ทำผิดกฏหมายละเมิดลิขสิทธิแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม กรณีองค์กรขนาดใหญ่ เช่น สถาบันศึกษาที่ต้องติดตั้งโปรแกรมซอฟต์แวร์ในรูปแบบ Site License หรือ Network License ที่อนุญาตให้สามารถติดตั้งใช้งานบนคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องได้ตามความต้องการ หรือตามจำนวนเครื่องที่ระบุไว้

2.แชร์แวร์ (Shareware)
เป็นโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์เช่นกัน โดยอาจถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรหรือโปรแกรมเมอร์เพียงคนเดียวก็ได้ มีการแจกจ่ายให้ทดลองใช้งานฟรีภายในระยะเวลาที่กำหนด ที่สำคัญ โปรแกรมที่ให้ทดลองใช้งานฟรีนั้น อาจมีเครื่องมือบางตัวถูกจำกัดขอบเขตการใช้ กล่าวคือ จะมีเครื่องมือบางตัวแบบพื้นฐานให้ใช้งานฟรี รวมถึงให้ผู้ใช้งานได้ฟรีภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น 30 วัน) แต่ถ้าต้องการซอฟต์แวร์เต็มคุณสมบัติ และใช้งานได้ตลอด ก็จะต้องจ่ายเงินซื้อ

3.ฟรีแวร์(Freeware)
คือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ผู้ใช้สามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้งานได้ฟรี  แล้วยังสามารถแบ่งปันหรือคัดลอกไปให้ผู้อื่นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนโปรแกรมยังคงเป็นเจ้าของสิทธิ์อยู่ ดังนั้น ผู้ที่นำไปใช้งาน ย่อมไม่สามารถเข้าไปดำเนินการใดๆ กับตัวโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข ดัดแปลง โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้เขียน มิฉะนั้นจะถือว่าเข้าข่ายละเมิดสิทธิ์

4.ซอฟต์แวร์สาธารณะ
คือโปรแกรมที่ปราศจากลิขสิทธิ์ใดๆ โดยเจ้าของสิทธิ์ในตัวโปรแกรม ที่เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมนี่ขึ้นมา มีจุดประสงค์บริจาคแก่สาธารณะ ดังนั้น  ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ นอกจากยังใช้งานได้ฟรีแล้ว ยังสามารถคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข และแจกจ่ายให้กับบุคคลอื่นๆ ได้โดยไม่มีข้อจำกัดและข้อผูกมัดใดๆ



ระบบปฏิบัติการตามมาตรฐานปิดและมาตรฐานเปิด
ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานปิด คือซอฟต์แวร์ที่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ(Proprietary) ไม่มีการเปิดเผยชุดคำสั่ง กล่าวคือ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว โดยได้รับใบอนุญาตภายใต้สิทธิ์กฏหมาย ทั้งนี้ ผู้ที่นำซอฟต์แวร์นี้ไปใช้จะต้องซื้อลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง เพื่อขอใบอนุญาตการใช้งานที่อยู่ภายใต้ขอบเขตและเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด ตัวอย่างระบบปฏิบัติการตามมาตรฐานปิด ที่รู้จักกันดีก็คือ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จากค่ายไมโครซอฟต์ เช่น MS-Windows , Windows Server เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ตามมาตฐานเปิด คือซอฟต์แวร์แบบ Open Source ที่สร้างขึ้นด้วยแนวคิดการอาศัยความร่วมมือจากโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดยมีความตั้งใจที่จะเปิดเผยชุดคำสั่งสู่สาธารณะ
เพื่อให้เหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นมา และ ให้ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ประเทศไทย ที่มีเป้าหมายในการสนับสนุน ให้ใช้งานและพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบเปิดขึ้นมา โดยระบบปฏิบัติการตามมาตรฐานเปิด  ที่ทาง NECTEC ได้พัฒนาขึ้น และสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น LinuxTLE (ลีนุกซ์ทะเล) เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ Windows 7
ขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7
ในที่นี้ เป็นการติดตั้ง Windows ด้วยไฟล์ iso บน VM VirtualBox
หลังจากที่เราสร้าง Host ชื่อ Windows 7 เสร็จแล้ว เราจะมาทำการติดตั้งกันเลย
 เริ่มที่หน้านี้ให้เราตั้งค่าภาษาก่อนติดตั้ง ให้เราคลิ๊ก Next



คลิ๊ก Install now



ติ๊กที่ช่อง I accept the license terms แล้วคลิ๊ก Next





เลือก Custom (advanced)



ถึงตอนนี้ เราจะมาทำการแบ่ง partition harddisk กัน
คลิ๊กเลือก Disk 0 Unallocated Space 

แล้วคลิ๊กที่ Drive options (advanced) และให้เราคลิ๊กที่ New




ที่ช่อง size เปลี่ยนขนาดเป็น 14000 แล้วกด Apply





กด OK เพื่อยืนยัน



ได้มาแล้ว 1 partition เราจะทำ partition ที่ 2 ต่อ ทำเหมือนเดิม เลือกที่ Unallocated Space แล้วกด New





partition ที่เหลือให้ทำเหมือนเดิม เสร็จแล้วให้เลื่อนแถบสีไปที่ Partition 2 (เราจะติดตั้ง windows ลงที่ Partition นี้) 
คลิ๊ก Next




จะเป็นขั้นตอนการติดตั้ง  จากนั้น รอ 




หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จะ restart แล้วกลับมาจะให้เราทำการกำหนด Username และ Computer name

แล้วคลิ๊ก Next  




กำหนด Password ขั้นตอนนี้ จะใส่ก็ได้ ไม่ใส่ก็ได้ ถ้าไม่ใส่ก็กด Next ผ่านไป




ตั้งค่าการอับเดทวินโดว์อัตโนมัติ ให้เลือกเป็น Use recommended settings  




ตั้งค่าโซนเป็น UTC+0700 Bangkok, Hanoi, Jakarta 
กด Next 



ประเภทของการเชื่อมต่อเครือข่ายให้เลือกเป็นแบบ Public Network 




สิ้นสุดการติดตั้ง 

 










อ้างอิง  หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา  2128-2002 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์   116 

https://www.nongit.com/blog/install-windows-7.html (17 ธันวาคม 2559)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น