วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ


บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ 
 

คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ
ประเภทของคอมพิวเตอร์ ที่จำแนกตามขีดความสามารถ ประกอบด้วย
1.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีราคาแพงที่สุดรวมทั้งต้องอยู่ทีห้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิ         และปราศจากฝุ่นละอองทำให้ต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นจึงสามารถจัดหาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้  ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้จำนวนหลาย ๆ คน นำมาใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อนเช่นการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้นรวมทั้งพบมากในวงการวิจัยในห้องปฎิบัติการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน









2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม







3.มินิคอมพิวเตอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง
มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรม




4.เวิร์กสเตชั่น
เวิร์คสเตชัน ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นด้านการแสดงทางด้านกราฟิก เช่น การนำมาช่วยออกแบบกราฟิกต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วนใหม่ๆ เป็นต้น ซึ่งต้องการงานกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำ ให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากอีกด้วย มีผู้ใช้บางกลุ่มเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชันนี้ว่า ซุปเปอร์ไมโคร (Supermicro)









5.ไมโครคอมพิวเตอร์
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้




องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
1.ฮาร์ดแวร์
 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบ โครงสร้าง รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มนุษย์สามารถมองเห็นและสัมผัสได้  หน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก็คือ  ทำงานตามคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆ  ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ





2.ซอฟต์แวร์
หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1.ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)








3.ข้อมูล
 ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การ ดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว








4.กระบวนการทำงาน
ทักษะ (Skill) หมายถึง ความชัดเจน และความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้
ทักษะการทำงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และความชำนาญในการปฏิบัติจนเป็นที่เชื่อถือและยอมรับ
กระบวนการ หมายถึงแนวทางการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีขั้นตอน ซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบแล้วเสร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ขั้นตอนดังกล่าวช่วยให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายได้ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด
การทำงาน (Work) หมายถึง กิจกรรมที่บุคลากรในบุคลากรหนึ่งกระทำขึ้นด้วยกำลังกายและกำลังใจ เพื่อจุดมุ่งหมายหนึ่งที่เขาต้องการ เช่น เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อความสบายใจ หรือเพื่อช่วยส่งเสริมสังคม เป็นต้น
อาชีพ เป็น รูปแบบการดำรงชีพในสังคมมนุษย์ปัจจุบัน อาชีพเป็นหน้าที่ของบุคคลในสังคม การที่บุคคลประกอบอาชีพจะได้มาซึ่งค่าตอบแทน หรือ รายได้ เพื่อใช้จ่ายในการดำรงชีวิต





5.บุคลากร
มายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น





คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
1.ความเร็ว
2.ความน่าเชื่อถือ
3.ความเที่ยงตรงและแม่นยำ
4.จัดเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก
5.ความสามารถในการสิ่สารและเครือข่าย

สื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก ได้แก่ เทปแม่เหล็ก ดิสเกตต์ และ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น



สื่อบันมึกข้อมูลแบบแสง ได้แก่ สื่อออปติคัลดิสก์ต่างๆ อันประกอบด้วย
สื่อที่อ่านได้อย่างเดียว เช่น แผ่น CD-ROM , DVD-ROM , BD-ROM
สื่อที่อ่านและเขียนได้จนเต็มแผ่น เช่น แผ่น CD-R , DVD-R , BD-R และ
สื่อที่อ่านและเขียนทับข้อมูลเดิมได้ เช่น แผ่น CD-RW , DVD-RW , BD-RE







สื่อบันทึกข้อมูลแบบแฟลช  ได้แก่ แฟลชไดร์ฟ และ การ์ดหน่วยความจำชนิดต่างๆ







อุปกรณ์ต่อพ่วง หมายถึงอุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านการเชื่อมต่อ
เพื่อเพิ่มขยายขีดความสามารถให้กับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง
    อุปกรณ์ต่อพ่วง ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
1.อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ไมโครโฟน และ  สแกนเนอร์
2.อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการแสดงผลข้อมูล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ และ ลำโพง
3.อุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการจัดเก็บข้อมูล เช่น เครื่องขับออปติคัลดิสก์แบบภายนอก เครื่อง อ่านการ์ดหน่วยความจำแบบภายนอก และ ฮาร์ดดิสก์แบบเชื่อมต่อภายนอก
ระบบปฏิบัติการ คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยมีจุดประสงค์คือ จะกำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่ผู้ใช้ สามารถปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 ระบบปฏิบัติการยุคที่ 1 จัดอยู่ในยุคที่ไม่มีระบบปฏิบัติการไว้ใช้งาน ผู้ควบคุมเครื่องจะต้องป้อนคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่องเข้าไปโดยตรง
ระบบปฏิบัติการยุคที่ 2 เป็นยุคที่เริ่มใช้ระบบปฏิบัติการประมวลผลแบบแบตช์
ระบบปฏิบัติการยุคที่ 3 เป็นยุคที่นำระบบปฏิบัติการมาประมวลผลแบบมัลติโปรแกรมมิ่ง ไทม์แชริ่ง มัลติโปรเซวซิ่ง และ ระบบเรียลไทม์มาใช้
ระบบปฏิบัติการยุคที่ 4 เป็นยุคที่เริ่มมีระบบปฏิบัติการบนไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อรองรับงานประมวลผลแบบงานเดี่ยว (MS-DOS) และ มัลติทาสกิ้ง (Windows) รวมถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนระบบเครือข่าย


หน้าที่ระบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย
1.การติดต่อกับผู้ใช้
2.การควบคุมดูแลอุปกรณ์
3.การจัดสรรทรัพยากร






อ้างอิง 
หนังสือเรียนวิชา การใช้งานระบบปฏิบัติการ รหัสวิชา  2128-2002 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาเทคนิคคอมพิวเตอร์   116






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น