ระบบปฎิบัติการ
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560
บทที่ 9 การรักษาความปลอดภัยของระบบ
บทที่ 9 การรักษาความปลอดภัยของระบบ
ความหมายของแพล็ตฟอร์ม
แพล็ตฟอร์ม(Platform) หมายถึง สภาพแวดล้อมของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ กล่าวคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการต่างๆล้วนสร้างขึ้นเพื่อใช้งานภายใต้สถาปัตยกรรมระบบฮาร์ดแวร์ที่มีความเข้ากันได้ (Compatible) ตัวอย่างเช่น พีซีแพล็ตฟอร์มส่วนใหญ่มักจะใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์(Windows Platform) ที่รันอยู่ภายใต้สถาปัตยกรรมซีพียูแบบ x86/64 โดยใช้ซีพียูแบบ CISC แต่ภายใต้คอมพิวเตอร์ระดับเดียวกัน ก็ย่อมสามารถมีแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกันได้ เช่น IBM-Power PC จะใช้สถาปัตยกรรมแบบ RISC ที่รันอยู่บนระบบปฏิบัติการ Unix และ โดยทั่วไปแล้ว
ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นบนแพล็ตฟอร์มพีซี (ซีพียูแบบCISC) ย่อมไม่สามรถนำไปติดตั้งหรือใช้งานระบบฮาร์ดแวร์ของซีพียู RISC ได้ เนื่องจากมีแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกันนั่นเอง
การรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์แพล็ตฟอร์ม
สำหรับการรักษาความปลอดภัยวินโดวส์แพล็ตฟอร์มในครั้งนั้ จะมุ้งเน้นการตั้งค่าในตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการเป็นหลัก ซึ้งการตั้งค่าที่เหมาะสมจะ่วยให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยแนวทางในการตั้งค่าดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ง่าย ตามขั้นตอนดังนี้
เข้าไป Control Panel และคลิ๊กที่หัวข้อ System and Security
คลิ๊กที่ Security and Maintenance
จะพบรายละเอียดเกี่ยวกับความปลอดภัย และการบำรุงรักษา
โดยที่
ความปลอดภัย(Security) จะเกี่ยวข้องกับโปรแกรมป้องกันสปายแวร์และโปรแกรมป้องกันไวรัส
การสำรองและการกู้คืน (Maintenance) เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าต่างๆ เพื่องานสำรองแฟ้มข้อมูล โดยเฉพาะกรณีที่เครื่องติดไวรัสทำให้ข้อมูลเสียหาย หรือระบบฮาร์แวร์ทำงานล้มเหลว หากมีสำรองข้อมูลแล้ว ก็จะสามารถกู้คืนข้อมูลกลับมาได้
การเปิด/ปิดการรับแจ้งข่าวสาร
เป็รเรื่องเกี่ยวกับการตั้งค่าเพื่อรายงานหรือแจ้งข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการอัปเดตและการบำรุงรักษา ซึ่งอยู่กับการตั้งค่า Turn On/Off ว่าจะรับข่าวสารดังกล่าวหรือไม่
คลิ๊กที่ หัวข้อ Change Security and Maintenance Setting
จะพบรายการต่างๆ โดยสามารถคลิ๊กที่เซ็ตบ็อกซ์เพื่อ Turn On/Off
การตั้งค่าการอัปเดต
เราสามารถเข้าไปตั้งค่าเกี่ยวกับการอัปเดตซอฟต์แวร์(Windows Update) ซึ้งปกติวินโดว์จะตั้งค่าให้อัปเดตอัตโนมัติ แต่อย่างไร การตั้งค่าให้อัปเดตอัตโนมัติอาจไม่สะดวกสำหรับใครบางคน และเพื่อให้เหมาะตามแต่ละบุคคล ทางไมโครซอฟต์จึงได้จัดเตรียมรูปแบบการอีปเดตต่างๆ มาให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
เข้าไปที่ Control Panel > System and Security > Windows Update > Change Setting
และสามารถตั้งค่าการอัปเดตต่างๆได้
แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
ตอนที่1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.แพล็ตฟอร์มหมายถึงอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอย
ตอบ สภาพแวดล้อมของฮาร์แวร์และซอฟต์แวร์ที่มีความเข้ากันได้ และสามารถทำงานร่วมกันได้
2.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์(Windows) แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ การตั้งค่าความปลอดภัย
การสำรองและกู้คืนข้อมูล
การเปิด/ปิดการรับแจ้งข่าวสาร
การตั้งค่าระดับการควบคุมบัญชีผู้ใช้
การตั้งค่าการอัปเดตซอฟต์แวร์
3.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนไอโอเอส (IOS) แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ การค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องด้วย Find My iPhone
การสำรองข้อมูลและเก็บรักษาบริการออนไลน์
การอัปเดตซอฟต์แวร์
4.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนแอนดรอยด์(Andriod)แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ การติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันโปรแกรประสงค์ร้าย เช่น มัลแวร์ และ ไวรัส คอมพิวเตอร์
การเลือกติดตั้งแอปจากสโตร์ที่น่าเชื่อถือ
การใช้แอป Device Manager เพื่อช่วยติดตามอุปกรณ์
การอัปเดตซอฟต์แวร์
5.ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนมีอะไรบ้าง
ตอบ การอัปเดตซอฟต์แวร์
การใส่ชื่อผู้ใช้
6.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพีซี แท็บเล็ต หรือ สมาร์ทโฟน ลำพัง ตัวนักเรียนเองมีระบบป้องกันความปลอดภัยอะไรบ้างให้กับเครื่อง
ตอบ การสร้างชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่าน เพื่อทำการเปิดเครื่อง การสแกนลายนิ้วมือ
การใช้คำสั่งเสียงเพื่อปลดล็อคเครื่อง
7. นักเรียนคิดว่า Find My iPhone ซึ่งเป็นแอปติดตามมือถือที่ทางแอปเปิ้ลเปิดบริการแก่ผู้ใช้อุปกรณ์จากค่ายแอปเปิ้ล มีประโยชน์ อย่างไร
ตอบ เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพน์สิน และ ระบุตำแหน่งอุปกรณ์ที่ใช้
8.ระหว่างระบบปฏิบัติการ IOS และ Android นักเรียนมีความพอใจต่อระบบปฏิบัติการตัวใดเป็นพิเศษ เพราะอะไร จงบอกเหตุผลประกอบ
ตอบ IOS เพราะมีระบบความปลอดภัยภายในเครื่องที่ดีกว่า และมีปัญหาทางตัวระบบน้อย
9.ระบบปฏิบัติการแบบเปิดกับแบบปิด คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ 1.ระบบปฏิบัติการแบบปิด เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อ ใดเท่านั้น ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียวไม่สามารถนำ ไปใช้กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องใน ตระกูล Apple ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorola ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้มาใช้กับเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไปได้
2.ระบบปฎิบัติการแบบเปิด เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ทุกระบบ และทุกยี่ห้อ
10.เพราะเหตุใด Android จึงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามมากกว่า IOS
ตอบ เพราะแอนดรอยเป็นระบบเปิด จึงทำให้ผู้มีความรู้ในการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560
บทที่ 8 โปรแกรมยูทิลิตี้
บทที่ 8 โปรแกรมยูทิลิตี้
ความหมายของโปรแกรมยูทิลีตี้
โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือโปรแกรมยูทิลิตี้(Utility Program) จัดอยู่ในประเภทหนึ่งของซอฟต์แวร์ระบบที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มเติมขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น ให้เกิดประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น โปรแกรมอรรถประโยชน์อาจถูกสร้างขึ้นเพื่องานบำรุงรักษาระบบ
โปรแกรมอรรถประโยชน์เพื่องานสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล หรือโปรแกรมอรรถประโยน์เพื่อการปรับจูนระบบ เป็นต้น
ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยปกติได้มีกาารผนวกโปรแกรมยูทิลิตี้มาให้เท่าที่จำเป็น และมักมีขีดความสามารถค่อนข้างจำกัด ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่เราสามารถแก้ไขปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถให้กับคอมพิวเตอร์ของเราให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องค้นหาโปรแกรมยูทิลิตี้จากผู้ผลิตรายอื่นมาใช้ และนับเป็นความโชคดี ที่มียูทิลิตี้จำนวนไม่น้อยที่สามารถหาดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ยูทิลิตี้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ จัดเป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แฝงมากับไฟล์ข้อมูลต่างๆ รวมถึงบนระบบเครือข่ายโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต
โปรแกรมป้องกันไวรัสจำเป็นต้องติดตั้งลงในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเพราะการใช้งานคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน หนีไม่พ้นเกี่ยวกับการคัดลอกไฟล์ข้อมูล การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ้งล้วนเป็นช่องทางที่ทำให้สามารถติดไวรัสได้โดยง่าย
แนวทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่สามารถป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ 100% แต่ก็มีแนวทางอยู่หลายประการด้วยกัน ที่สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา อันประกอบด้วย
1.หลีกเลี่ยงการใช้สื่อจากแหล่งอื่นในการบูตเครื่อง
คอมพิวเตอร์นอกจากจะบูตได้จากตัวฮาร์ดดิสกภายในเครื่องแล้ว ยังสามารถสั่งบูตจากแผ่นซีดี/ดีวีดี
รวมถึงการสั่งบูตจากแฟรชไดร์ฟ ให้หลีกเลี่ยงการบูตเครื่องจากแหล่งอื่นที่ไม่รู้จักแหล่งที่มา ซึ้งช่วยลดโอกาสในการติดไวรัสได้อีกทางหนึ่ง หรือในกรณีที่จำเป็นจริงๆก็ควรทำการสแกนไวรัสสื่อนั้นก่อนการใช้งาน
2.ตั้งค่าระดับความปลอดภัยในโปรแกรมประยุกต์ เพื่อป้องกันไวรัสมาโคร
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ไวรัสแบบมาโครนั้น มักก่อกวนผู้ใช้ผ่าโปรแกรมชุดออฟฟิศ แตโปรแกรมชุด ออฟฟิศอย่าง MS-Word ก็ได้เตรียมระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการคุกคามจากไวรัสประเภทนี้มาให้ด้วยกันเช่นกัน ผู้ใช้สามารถไปตั้งค่าความปลอดภัย ให้สูงขึ้นได้
3.การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
เป็นการป้องกันการโจมตีจากไวรัส ด้วยการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ภายในเครื่อง และด้วยการโปรแกรมป้องกันไวรัสในปัจจุบันค่อนข้างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบพบไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ฝั่งตัวอยู่ในหน่วยความจำหรือบนสื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้ อีกทั้งยังสามารถกำจัดไวรัสเหล่านั้นออกไปจากเครื่องได้ แต่ผู้ใช้จำเป็นต้องอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปกติ แม้ว่าตัวโปรแกรมป้องกันไวรัสมักตั้งค่าให้อัปเดตอัตโนมัติเมือมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่ผู้ก็ควรเข้าไปหมั่นตรวจสอบว่า โปรแกรมดังกล่าวได้รับการอัปเดตจริงหรือไม่อย่างไร เพราะไวรัสสายพันธ์ุใหม่เกิดขึ้นได้ทุกวัน และหากโปรแกรมไวรัสไม่ไม่ถูกอัปเดตให้ทันสมัย ก็จะสบช่องให้ไวรัสสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้โจมตีคอมพิวเตอร์ของเราได้ เนื่องจากโปรแกรมไวรัสของเราสแกนไม่พบ ดังนั้น การหมั่นอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งจำเป็น
4.ไม่ควรเปิดไฟล์เอกสารที่มีไวรัสแฝงตัวอยู่
หากไฟล์เอกสารหรือข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากอีเมล์มีไวรัสคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องมีการร้องเตือนว่าโปรแกรมดังกล่าวมีไวรัสแฝงตัวมา ก็ควรกำจัดไวรัสเหล่านั้นออกไปในทันที่ และไม่ควรทดลองเปิดไฟล์เอกสารเหล่านั้นขึ้นมา
5.การตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลก่อนใช้งานเสมอ
ก่อนการใช้งานสื่อบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น แฟลชไดรฟ์ หรือการ์ดหน่วยความจำที่มาจากแหล่งที่มาอื่นๆ ควรทำการสแกนไวรัสก่อนเสมอ เพื่อมั่นใจว่าสื่อนั้นไม่มีไวรัสคอมพิวเตอร์
6.ป้องกันการบันทึกข้อมูลด้วยการ Write Protect
กรณีจัดเก็บข้อมูลลงในดิสก์ เช่น แผ่นข้อมูล แผ่นบูต รวมถึงแผ่นไฟล์ข้อมูลสำคัญอื่นๆ ควรป้องการบันทึกข้อมูลด้วยการ Write Protect แผ่นดิสก์นั้นด้วย เนื่องจากการ Write Protect ทำให้ไฟล์ที่บันทึกข้อมูลอย่างเดี่ยว ไวรัสไม่สามารถบันทึกข้อมูลตัวเองลงในแผ่นดิสก์ได้ นอกจากแผ่นดิสก์และแฟลชไดรฟ์บางรุ่นก็มีปุ่มเลื่อนเพื่อป้องกันการบันทึกข้อมูลด้วยเช่นกัน
7.หมั่นสำรองข้อมูล
เพื่อป้องกันความเสียหายของข้อมูลหรือความเสียหายที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เพราะหากเกิดเหตูการณ์การเสียหายของข้อมูลขึ้นมาจริงๆ ก็ยังมีข้อมูลที่สำรองไว้ ซึ่่งควรสำรองข้อมูลเป็นประจำ
การสำรองข้อมูลระบบ
การสำรองข้อมูลระบบนั้น ไม่สามารถทำได้โดยการคัดลอกข้อมูลเหมืนกับการคัดลอกไฟล์ทั่วๆ ไป แต่จะเป็นการสำรองข้อมูลในระดับพาร์ทิชั่นของฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการเอาไว้ โดยข้อมูลที่สำรองจะเก็บเป็นอิมเมจไฟล์(Image File) โดยอิมเมจไฟล์จัดเป็นไฟล์ชนิดหนึ่ง ที่เก็บรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดในระดับเซ็กเตอร์ เหมาะกับการคัดลอก/สำรองข้อมูลในปริมาณมากๆ เนื่องจากใช้เวลาน้อยกว่าคัดลอกตามปกติ และไม่สามารถเปิดอ่านได้จนกว่าจะได้รับการกู้คืน
การสำรองข้อมูลไฟล์ทั่วไป
การสำองข้อมูลไฟล์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์โปรแกรม หรือ ไฟล์อื่นๆ ก็ตาม นอกจากจะใช้วิธีการคัดลอกเพื่อสำรองข้อมูลตามปกติ หรือใช้โปรแกรมบีบอัดแล้ว ยังสามารถใช้วิธีการสำรองข้อมูลโดยโปรแกรมสำรองข้อมูลโดยตรง โดยไฟล์ที่ได้รับการสำรองจะถูกเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์สำรองโดยเฉพาะ และหากต้องการใช้งาน ก็จะต้องใช้วิธีการกู้คืน จึงจะได้รายการไฟล์
รายละเอียดต่อไปนี้ จะกล่าวถึงโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างๆ ที่น่าสนใจ ด้วยการอธิบายถึงประโยชน์ใช้สอยจากตัวโปรแกรม รวมถึงนำโปรแกรมเหล่านั้นมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ
โปรแกรม CPU-Z
เป็นโปรแกรมที่บอกรุ่นและรายละเอียดต่างๆ ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่
โปรแกรมบีบอัดไไฟล์ WinRAR
โปรแกรม WinRAR ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถคลายไฟล์บีบอัดให้กลับมาเป็นไฟล์ต้นฉบับเพื่อนำไปใช้งานต่อไป นอกจากจะช่วยให้ไฟล์เล็กลงแล้ว ยังช่วยประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ทำให้งานคัดลอกหรือสำรองข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น
แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้
ตอนที่1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.โปรแกรมยูทิลีตี้คืออะไร จงอธืบาย
ตอบ โปรแกรมอรรถประโยชน์ หรือ โปรแกรมยูทิลีตี้ ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
2.จงสำรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนตัวของนักเรียน ว่ามีการติดตั้งโปรแกรมยูทิลีตี้ตัวใดบ้าง
ด้วยการระบุเป็นข้อๆ(ไม่นับรวมโปรแกรมยูทิลีตี้ที่ติดมากับวินโดวส์)
ตอบ CPU-Z
WinRAR
7ZIP
IDM
3.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม CPU-Z
ตอบ เป็นโปรแกรมบอกค่าสถานะของตัวเครื่อง และ สเปคเครื่อง
4.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม Mem Test
ตอบ เป็นโปรแกรมตรวจสอบและวินิฉัย ปัญหาภายในเครื่อง
5.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม PC Tools Registry Mechanic
ตอบ เป็นโปรแกรมที่ช่วยล้างข้อมูลที่ Uninstall แล้วยังมีข้อมูลค้างหรือ หลงเหลืออยู่ ให้หมดไป
6.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม WinRAR
ตอบ เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการแยกไฟล์ และ บีบอัดไฟล์
7.แนวทางในการป้องกันไวรัสประกอบด้วยอะไรบ้าง จงสรุปมาให้พอเข้าใจ
ตอบ ตวจสอบคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง
ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส
8.อยากทราบว่านักเรียนเคยใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดบ้าง จงระบุเป็นข้อๆ และมีความชื่นชอบโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดมากที่สุด เพราะอะไร ตอบ Avira เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายและไม่สร้างความน่าลำคาญแก่ผู้ใช้
9.จงสรุปหลักการสำรองข้อมูลและวิธีการกู้คืน ด้วยโปรแกรม Backup and Restore ที่ผนวกมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาให้พอเข้าใจ
ตอบ เป็นการสำรองข้แมูไว้ในฮาร์ดิส เพื่อป้องกันกรณีข้อมูลเสียหาย
ตอนที่ 2 ปฏิบัติการฝึกทักษะ
1.ให้นักศึกษาเลือกโปรแกรมยูทิลีตี้และบอกวิธีใช้งาน
คลิกที่ไอคอน และ จะปรากฏหน้าต่างสเปคของคอมพิวเตอร์
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2560
บทที่ 7การใช้งานระะบบปฏิบัติการ Windows7 และ เทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้
บทที่ 7 การใช้งานระะบบปฏิบัติการ Windows7 และ เทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้
เนื้อหาบทนี้ จะกล่าวถึงการใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป โดยจะคัดเฉพาะส่วนที่สำคัญๆ รวมถึงเทคนิคการใช้งาน
การใช้งาน Gadgets
แกดเจ็ตส์(Gadgets) คือโปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถนำมาวางไว้บนเดสก์ท็อปเพื่อใช้งานตามคุณสมบัติของโปรแกรมแกดเจ็ตส์นั้นๆ สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 7 ได้เตรียมแกดเจ็ตส์ มาให้ส่วนหนึ่ง
แต่ผู้ใช้สามารถเลือกแกดเจ็ตก์ใหม่ๆ จากการดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตมาใช้เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมแกดเจ็ตก์บางตัว จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่ออ่านค่าล่าสุดมาใช้งาน เช่น
โปรแกรมตรวจสภาพภูมิอากาศ และโปรแกรมแสดงค่าเงิน
ที่ปุ่ม start ใน Windows 7 คลิ๊กหนึ่งครั้งจะปรากฏ ช่องให้ค้นหาโปรแกรม พิมพ์ค้นหา คำว่า gadget หรือ desktop gadget ก็จะปรากฏผลการค้นหา เป็น Gadget ทั้งหมด ใน คอมพิวเตอร์ คลิ๊ก
หน้าต่าง Desktop gadget ปรากฏขึ้น หากต้องการเพิ่ม Gadget ตัวใดใน Desktop ก็วิธีดับเบิ้ลคลิ๊ก ก็จะทำให้ Gadget ดังกล่าวปรากฏในหน้าจอ ( Desktop ) เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเรียบร้อยแล้ว
คอนโทรลพาเนล(Control Panel)
คอนโทรลพาแนล เปรียบเสมือนแผงควบคุมการทำงาน ซึ่งเป็นศูนย์รวมของโปรแกรมสำคัญต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าและเรียกใช้งาน อีกทั้งภายในคอนโทรลพาแนลยังได้รับการจัดหมวดหมู่โปรแกรมต่างๆ อย่างมีระบบ เพื่อสร้างความสะดวกต่อผู้ใช้ในการเข้าไปใช้งาน และต่อไปจะเป็นการนำเสนอการใช้งานโปรแกรมบางส่วนภายในคอนโทรลพาแนล
การตั้งวันที่และเวลา
เข้าไปที่ Control panel คลิ๊กที่ Clock Language and Region แล้วคลิ๊กที่หัวข้อ Date and time
คลิ๊กที่ปุ่ม Change date and time
ตาราง Date สามารถใช้เมาส์คลิ๊กเพื่อเปลี่ยนเวลาตามที่ต้องการได้ได้
การตั้งค่าประหยัดพลังงาน
ที่หน้าต่าง Control Panel ให้คลิ๊กที่ Hardware and sound
คลิกที่ Power options
ตรงหัวข้อเลือก Balance ให้คลิ๊กที่ Change plan Setting
สามารถตั้งตามความเหมาะสมได้
การจัดการไฟล์และโฟล์เดอร์
การใช้านคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งสิ้น โดยข้อมลหรือเอกสารสำคัญต่างๆ อาจถูกสร้างขึ้นด้วยโปรแกรมต่างๆ ร่วมทั้งการป้อนข้อมูลธุรกรรมประจำวันผ่านตัวโปรแกรมเพือบันทึกในฐานข้อมูล ดังนั้นภายในคอมพิวเตอร์ ก็จะเต็มไปด้วยไฟล์ต่างๆ มากมาย
หน้าต่างคอมพิวเตอร์ นอกจากจะนำมาใช้จัดการไฟล์หรือโฟล์เดอร์ต่างๆ แล้ว ที่แถบเมนูยังเตรียมปุ่มต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงและจัดการไฟล์ได้สะดวก
แนวคิดการจัดการไฟล์และโฟล์เดอร์
แต่ละคนจะมีวิธีการจัดการไฟล์ข้อมูลตามวิถีทางของตนโดยมิได้มีกฏเกณบังคับ แต่ถ้ามีการจัดหมวดหมูไฟล์อย่างเป็นระเบียบ มีการตั้งชื่อไฟล์ที่สื่อความหมาย ย่อมนำไปสู่การค้นหาหรือเรียกใช้งานไฟล์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาต่อไปนี้ จะแนะนำถึงวิธีการจัดเก็บไฟล์และโฟล์เดอร์ที่ถูกต้อง และสามารถปฏิบัติตามได้ไม่ยาก
1.การจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ แยกออกจากไฟล์โปรแกรม
เป็นวิธีที่หลายๆคน ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์มายาวนานมักนิยมใช้ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากระทำตาม โดยส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไปมักใช้ฮาร์ดดิสก์เพียงหนึ่งตัว ดังนั้น การแบ่งไฟล์พื้นที่ฮาร์ดิสก์ออกเป็นสองส่วน หรือที่เรียกว่าพาร์ทิชั่นทำให้เราสามารถแยกจัดเก็บไฟล์ได้ชัดเจน
2.ไม่ควรเปลียนชื่อโฟล์เดอร์ที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมติดตั้ง
ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ โปรแกรมประยุกต์เหล่านั้นจะสร้างโฟล์เดอร์ของตนขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลของตัวโปรแกรมเอาไว้ และตำแหน่งโฟล์เดอร์นี้เอง จะถูกนำมาใช้อ้างอิงในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลสำคัญ เมื่อมีการสั้งรันโปรแกรม ดังนั้น ภายหลังจากการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์เป็นที่เรียบร้อยเเล้ว ไม่ควรเข้าไปเปลี่ยนชื่อโฟล์เดอร์ รวมถึงห้ามลบหรือโยกย้ายตำแหน่งจัดเก็บของโฟล์เดอร์ เพราะว่าจะทำให้การเข้าถึงไฟล์ข้อมูลผิดเพี้ยน
3.ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเพียงชนิดเดียว
เป็นไปได้ว่า ปัญหาจากการมีไฟล์ข้อมูลหลายๆชุด ทั้งๆ ที่เป็นข้อมูลเรื่องเดี่ยวกัน จึงทำให้เกิดความสับสนว่า ไฟล์ใหนเป็นข้อมูลชุดล่าสุด
4.ให้ตั้งชื่อไฟล์และโฟล์เดอร์ที่สื่อความหมายได้ดี
การตั้งชื่อไฟล์และดฟล์เดอร์ที่สื่อความหมายได้ดีนั้น ทำไห้เราสามารถตีความหมายว่าไฟล์หรือโฟล์เดอร์นั้นเก็บข้อม฿ลอะไรไว้ และในการตั้งชื่อไฟล์และโฟล์เดอร์ จะต้องตั้งชื่อให้ถูกตามกฏการตั้งชื่อ เช่น ไม่อณุญาติให้ใช้อักขระพิเศษ เช่น \ / : * < > } ? รวมอยู่ภายในชื่อ เป็นต้น
การเปลียนชื่อไฟล์หรือโฟล์เดอร์
หากต้องการเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือโฟล์เดอร์ สามารถทำได้ตามขั้นตอนด้นล่างนี้
คลิ๊กโฟล์เดอร์ที่ต้องการเปลี่ยน
คลิ๊กอีกที่ช่องแก้ไขจะปรากฏ
การสร้างโฟล์เดอร์
เราสามารถสร้างโฟล์เดอร์ใหม่ขึ้นมา เพื่อจัดเก็บไฟล์ลงในโฟล์เดอร์ดังกล่าวได้ด้วยวิธีง่าย ๆ
คลิ๊กขวาเลือก New Folder
การใช้คำสั่งบน Command Prompt
สำหรับเนื้อหาต่อไปนี้ จะนำเสนอคำสั่งดอสพื้นฐานสำคัญๆ ภายใต้หน้าต่าง Command Promt
หรือ Command Line โดยในที่นี้จะกล่าวเพียงบางส่วนเท่านั้น
การเข้าสู่หน้าต่าง Command Prompt
คลิ๊กขวาที่เมนูวินโดวส์ เลือก Command Prompt
กรณีที่ผู้ใช้งานต้องการทราบรูปแบบการใช้คำสั่ง สามารถให้เครื่องเเสดงรายละเอียด ได้ด้วยการพิมพ์ /? ต่อท้ายคำสั่ง เช่น dir/? หรือ format/? เป็นต้น
คำสั่ง dir
เป็นคำสั่งแสดงชื่อไฟล์ต่างๆ บนดิสก์
การใช้คำสั่ง dir/w เพื่อแสดงรายชื่อไฟล์ตามแนวกว้าง
การใช้คำสั่ง dir *.dll /w เพื่อแสดงรายการไฟล์ที่นามสกุล .dll ทั้งหมด โดยแสดงตามแนวกว้าง
คำสั่ง cls
เป็นคำสั่งล้างหน้าจอ ให้พิมพ์คำสั่ง cls ลงไป
ข้อมูลต่างๆ จะถูกล้างออกไปทั้งหมด
แบบทดสอบประเมินผลการเรียน
ตอนที่1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.แกดเจ็ต(Gadgets) คืออะไร นำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
ตอบ แกดเจ็ตคือโปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถนำมาวางไว้บนเดสก์ท็อปเพื่อใช้งานตามคุณสมบัติของโปรแกรมแกดเจ็ตส์นั้นๆ
2.ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จะมีส่วนเรียกว่า "Control Panel " อยากทราบว่า มี่ส่วนสำคัญต่อการใช้งานอย่างไร
ตอบ เป็นแผงควบคุมการทำงาน และเป็นศูนย์ร่วมในการตั้งค่าต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าใช้งานได้
3.จงสรุปวิธีการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ให้สามารถเปิด/ปิดโดยอัตโนมัต
ตอบ Control Panel > Administrative Tools > Schedule Tasks
คลิ๊กที่ Create Basic Task... และ ให้ตั้งชื่อพร้มระบุรายละเอียดต่างๆ
ตรงหัวข้อ Trigger เลือก Daily แล้วตามด้วยปุ่ม Next
ตรงหัวข้อ Daily ตั้งเวลาปิดเครื่อง และ คลิ๊กป่้ม Next
4.ไบออสคืออะไร มีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ โปรแกรม BIOS เป็นโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์จะเรียกใช้งานเป็นโปรแกรมแรก ๆในการเปิดเครื่อง โดยเราจะได้ยินเสียง BIOS ในการเปิดเครื่องทุกครั้ง ซึ่งเสียงทุกเสียงในตอนเปิดเครื่องจะบ่งบอกถึงปัญหาและสภาพของคอมพิวเตอร์
5.การถอดถอนโปรแกรมออกไปจากเครื่อง จะกระทำเมื่อใด และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ การถอดถอนโปรแกรมออกจากเครื่อง จะกระทำเมื่อโปรแกรมนั้นมีปัญหาหรือผู้ใช้ไม่ต้องการใช้งานแล้ว ประโยชน์ที่ได้จากการถอดถอนโปรแกรม คือ ทำให้พื้นที่ในหน่วยความจำมีมากขึ้น
6.จงสรุปแนวทางจัดการไฟล์และโฟล์เดอร์มาให้พอเข้าใจ
ตอบ การจัดการไฟล์และโฟล์เดอร์เป็นการทำให้ไฟล์หรือโฟล์เดอร์เป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายต่อการค้นหาเพื่อนำมามาใช้งาน
7.การคัดลอกแบบ Copy กับ Cut มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ การ Copy คือการคัดลอกไฟล์ออกมาจากต้นฉบับ
การ Cut คือการนำไฟล์ที่คัดลอกไปไว้ในอีกที่หนึ่งโดยที่ไฟล์ต้นฉบับจะเป็นไฟล์ที่ถูกย้าย
8.ตามปกติแล้ว ทำไมจึงไม่สสามารถเปลี่ยนนามสกุลไฟล์บน Windows Explorer ได้ และถ้าหากจำเป็นต้องทำ จะต้องทำอย่างไร และ สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง
ตอบ Windows Explorer ได้มีการตั้งค่าให้ซ้อนนามสกุลไฟล์เอาไว้ จึงทำให้ผ้ใช้ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนนามสกุลได้
9.Command Prompt บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีไว้เพื่ออะไร จงอธิบาย
ตอบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับระบบของเครื่องและการตั้งค่าที่ Control Panel ที่ไม่สามารถตั้งได้ ก็สามารถตั้งได้ ใน Command Prompt
10.คำสั่งในการเปลี่ยนทิศทางการรับส่งข้อมูลบน Command Prompt มีอะไรบ้าง จงสรุปมาให้พอเข้าใจ
ตอบ สำหรับสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนทิศทางการแสดงผลไปยังเอาท์พุต
D: \test>type readme.txt > prn
การใช้คำสั่ง dir แสดงผลเก็บไว้ในไฟล์ชื่อ file1.txt ก็สามารถทำได้ดังนี้
D:\test>dir > file.txt
การใช้คำสั่ง ver เพื่อให้ผลลัพธ์เก็บไว้ต่อจาก file1.txt ที่เคยมีอยู่ ก็สามารถพิมพ์ชุดคำสั่ง
D:\test>ver>>file1.txt
ตอนที่3 จงใช้คำสั่ง Command Prompt เพื่อดำเนินการกับโจทย์ที่กำหนดมาให้
กำหนดให้ไดเรกทอรีหรือตำแหน่งโฟลเดอร์ปัจจุบันอยู่ที่ "C:\TEST>"
1.จงแสดงรายชื่อไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "Proect " โดยตัวถัดไปเป็นตัวอะไรก็ได้ นามสกุลใดก็ได้
ตอบ dir ?c*.drv
2.จากข้อที่ 1 หากต้องการแสดงเฉพาะนามสกุล .dock ต้องใช้คำสั่งใด
ตอบ dir *.dock /w
3.จงสร้างโฟลเดอร์ "Budget " ที่อยู่ภายใต้โฟลเดอร์ C:\TEST ซึ่งประกอบด้วยโฟลเดอร์ย่อยของปีต่างๆ อันได้แก่ "2556" ,"2557" และ "2558"
ตอบC:\new folder 2556 2556 2557
4.ให้คัดลอกไฟล์ทั้งหมดจากไดรฟ์ G:\doc ไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งโฟลเดอร์ "2557"
ตอบ D:\test>copy G:doc .\2557
5.ให้คัดลอกโปรแกรมไฟล์เฉพาะนามสกุล .ppt จากไดรฟ์ G:\ ไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งโฟลเดอร์ "2558 "
ตอบ G:\test>copy .ppt .\2558
6.จงสร้างโฟลเดอร์ย่อยชื่อ "Man" และ "Meena" บนตำแหน่งโฟลเดอร์ "2556"
ตอบ D:\2556> Man
D:\2556> Meena
7.จงเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทั้งหมดที่อยู่บนโฟลเดอร์ "2557" มาเป็นนามสกุล ".OLD"
ตอบ ren *.docx *.OLD
8.จงลบไฟล์ทั้งหมดบนโฟลเดอร์ "2557" ที่ขึ้นต้นด้วยตัว "D" ตัวถัดไปคือตัวอะไรก็ได้ และ นามสกุลเป็น ".DOC"
ตอบ del *.*folder 2557
9.จงเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทั้งหมดบนโฟลเดอร์ "2557" ที่มีนามสกุล ".OLD" มาเป็น ".TMP" แทน
ตอบ D:\2557 ren *.OLD *.TMP
10.จงลบโฟล์เดอร์ "2557" ออกไปให้หมด โดยเรียกใช้งานผ่าน Input File (Redirection เครื่องหมาย "<" จากไฟล์ที่ตั้งขึ้นคือ confirm.scr) ด้วยการยืนยันการลบไฟล์ทั้งหมดด้วย "Y" แบบอัตโนมัติ
ตอบ D:\del folder 2557
D:\test>copy confirm.scr
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560
บทที่ 6 การติดตั้งไดรเวอร์ และ งานปรับแต่งพื้นฐาน
บทที่ 6 การติดตั้งไดรเวอร์และงานปรับแต่งพื้นฐาน
โปรแกรมไดรเวอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์จะต้องมีการติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์อินพุต/เอาท์พุต พื้นฐานอย่างคีย์บอร์ดและจอภาพ ซึ้งระบบปฏิบัติการมักจะรู้จักและสามารถเข้าไปติดต่อเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์พื้นฐานเหล่านี้ได้อยู่แล้ว แต่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ ในความเป็นจริงแล้ว มีมากมายและค่อนข้างหลากหลาย และใช่ว่าคอมพิวเตอร์จะรู้จักกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้ทั้งหมด ดังนั้น ในการที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปจัดการ ควบคุมและสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งไดรเวอร์
ไดรเวอร์(Drivers) หมายถึง ตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นดปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติจะแนบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไดรเวอร์เมนบอร์ด ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ และ ไดรเวอร์เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น หน้าที่หลักๆของไดรเวอร์ก็คือ ช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อและจัดการกับอุปกรณ์ O/I เหล่านั้นได้ กล่าวคือ หากระบบปฏิบัติการไม่รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้ เราก็ไม่สามารถสั่งใช้งานอุปกรณ์นั้นได้ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่รู้จัก หรือไม่รู้วิธีเข้าไปสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้นให้ทำงาน ดังนั้น การที่ได้ติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ ก็เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อเพื่อจัดการกับอุปกรณ์ I/O ได้นั่นเอง
Device Manager ในระบบปฏิบัติการ Windows เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ โดยรายการฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในเครื่อง สามารถได้รับการปรับตั้งค่าผ่านศูนย์กลางแห่งนี้
การปรับตั้งค่าความระเอียดของจอภาพ
ในปัจจุบัน จอภาพที่ใช้งานล้วนเป็นแบบ LCD ทั้งสิ้น แล้วก็ยังมีทั้งจอภาพแบบที่มีสัดส่วนปกติ(4:3)
กับจอภาพแบบจอกว้าง(16:9) ที่สำคัญ ภายหลังจากการติดตั้งไดรเวอร์การ์ดจอภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระบบปฏิบัติการจะปรับตั้งค่าความระเอียดจอภาพภายใต้ขีดความสามารถสูงสุดของจอภาพโดยอัตโนมัติ ในขณะเดียวกัน อัตรารีเฟรชบนจอภาพแบบ LCD ก็สามารถใช้ค่าปกติ กล่าวคือ ทั้งค่าความละเอียดและอัตรารีเฟรชของจอภาพยุคใหม่ในปัจจุบันที่ติดตั้งระบบ ปฏิบัติการ Windows 7 ขึ้นไป แทบไม่จำเป็นต้องเข้าไปปรับค่าใดๆ แล้ว ตัวระบบปฏิบัติการ Windows จะตั้งค่าที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติ
เข้า Menu Windows
คลิ๊กเลือกที่ Setting
คลิ๊กเลือกที่ System
คลิ๊กที่ Display
จะขึ้นหน้าจอนี้ และ คลิ๊กเลือกที่ Advanced display setting
จะขึ้นหน้าจอนี้
ตรงหัวข้อ Resolution จะปรากฏค่าความละเอียดต่างๆ และ สามารถปรับค่าความละเอียดได้
การเพิ่มไอคอนสำคัญๆ ไว้บนเดสก์ท็อป
หากต้องการนำไอคอนสำคัญๆ ที่มักใช้งานบ่อยๆ มาว่างไว้บนเดสก์ท็อป ก็สามารถดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
คลิ๊กขวาเลือก Personalise
จะขึ้นหน้านี้ และ เลือก Themes > Theme settings
จะขึ้นหน้านี้ และ เลือก Change desktop icon
จะขึ้นหน้าต่างเล็ก คลิกเครื่องหมายถูกตรงเซ็กบ็อกซ์ ตามที่ต้องการ และ คลิ๊กปุ่มOK
การปรับขนาดไอคอนบนเดสก์ท็อป
สำหรับไอคอนที่แสดงอยู่บนเดสก์ท็อปนั้น จะถูกกำหนดค่าให้เป็นขนาดกลาง ซึ่งเป็นค่าปกติ แต่ก็สามารถปรับขนาดให้เล็กลงหรือใหญ่ขึ้นได้
คลิ๊กขวา เลือก View เเล้วจะมีให้เลือกขนาด คลิก เลือกขนาดตามที่ต้องการ
จะได้ผลดังนี้
Small icon
Medium icon
Large icon
การเปลี่ยนภาพพื้นหลัง
บนเดสก์ท็อป ยังสามารถปรับแต่งภาพพื้นหลังให้สวยงามน่าใช้ตามความชื่นชอบของแต่ละบุคคล โดยภาพที่สามารถนำมาเป็นพื้นหลัง สามารถเลือกจากแกลเลอรีที่ได้จัดเตรียมมาให้อยู่แล้ว เช่น แกลเลอรีภาพสถาปัตยกรรม และ ภาพวิวธรรมชาติ เป็นต้น
คลิ๊กขวาเลือก Personalise
จะขึ้นหน้านี้ และ เลือก Background และคลิ๊กที่ Browse
จะขึ้นหน้านี้แล้วเลือกรูปที่ต้องการ
ตอนที่1 จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.โปรแกรมไดรเวอร์คืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ Driver หรือ Driver Computer คือ โปรแกรมหนึ่งที่จะช่วยให้ชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจะเป็นตัวขับเคลื่อน หรือ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด การ์ดจอ เม้าส์ เครืองพิมพ์ และชิ้นส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์ กับ ระบบปฏิบัติการ (OS) เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถ ใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ หากไม่มีไดรเวอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นอาจไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจใช้ได้แต่ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ทุกครั้งที่เราเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปใหม่ เช่น เมื่อต้องการจะติดตั้งการ์ดจอ
2.มานะบอกกับมีนาว่า ฉันติดตั้ง Windows แล้ว ไม่เห็นต้องติดตั้งไดรเวอร์อะไรให้ยุ่งยากเลยคอมพิวเตอร์ก็ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตามปกติ หากนักเรียนเป็นมีนา จะอธิบายให้มานะเข้าใจอยางไร
ตอบ เพราะว่าในตัวระบบปฏิบัติการ Windows มี โปรแกรมไดรเวอร์ที่ติดตั้งไว้อยู่แล้ว และถ้าหากมานะไม่สามารถใช้ฮาร์แวร์บางตัวได้จำเป็นต้องอัแเดตได้เวอร์เพื่อสามารถใช้ตัวฮาร์แวร์ได้
3.ในระะบบปฏิบัติการวินโดวส์ ตรงส่วนใดที่ใช้เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่มีการเชื่อต่อเข้ากับหน่วยระบบ
ตอบ Device Manager เป็นโปรแกรมที่ติดต่อฮาร์แวร์และสามารถเพิ่ม Device ตัวอื่นได้
4.การตั้งค่า Refresh Rate บนจอภาพ LCD มีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เป็นอัตราการสะท้อนแสงบนจอภาพต่อวินาทีของมอนิเตอร์เพื่อทำให้ภาพคมชัด มีหน่วยเป็นภาพต่อวินาที หรือ เฮิรตซ์ (hertz) อัตรา Refresh rate ที่ดี อยู่ทีประมาณ 72 เฮิรตซ์ (หรือมากกว่านั้น) ยิ่งเร็วมาก ยิ่งดีเพราะจะทำให้ภาพคมชัดมากยิ่งขึ้น ถ้าอัตรา Refresh Rate ต่ำจะทำให้ภาพที่ได้นั้นมีอาการสั่น กระพริบ ทำให้เกิดผลเสียกับสายตาได้อย่างมาก
5.การตั้ง Screen Saver บนจอภาพ LCD มีส่วนช่วยถนอมจอภาพโดยตรงหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ชลอการเสื่อมของจอภาพ และ ช่วยทำให้จอภาพใช้งานได้นานขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)